วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

ค้อ ไม้แห่งวัฒนธรรมของคนบนภูเขาสูง


ค้อ เป็นปาล์มขนาดใหญ่ ลำต้นเดี่ยว ไม่แตกกอ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่โคนต้น 20-30 เซนติเมตร สูงได้ถึง  25-30 เมตร ใบ เป็นกลุ่มแน่นใกล้ยอดถึง 50 ใบ ลำต้นเรียวเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง 20-30 เซนติเมตร ที่ฐานมักจะพองออกใบกลมคล้ายพัด เส้นผ่านศูนย์กลางถึง 2 เมตร ด้านล่างสีออกเทาเป็นสันร่องถึง 100 ร่อง ปลายเป็นสันร่องถึง 100 ส่วน แต่ละส่วนมีปลายแข็งแยกเป็น  2 แฉก ส่วนที่ฐานมักจะซ่อนกัน ก้านใบร่วมยาวถึง 1.8เซนติเมตร สีเหลือง มีหนามใหญ่โค้ง สีส้มอมน้ำตาล ยาวถึง 2.5 เซนติเมตร กาบใบสั้น ที่ขอบใบมักจะแตกเป็นเส้นใยหยาบและมีติ่งหูใบ (ligule) ที่ยาวถึง 25 เซนติเมตร ดอก มีขนาดเล็กจำนวนมาก สีเหลืองอมเขียว ออกดอกรวมเป็นช่อ แบบแยกแขนง บริเวณซอกใบใกล้ยอดช่อดอกยาวได้ถึง 2 เมตร ผล ลักษณะผลค้อจะมีขนาด  2.5-3 เซนติเมตร สีเขียวเข้มถึงม่วงออกดำ รูปมนรีถึงรูปไข่ ความยาวมากกว่ากว้าง

ต้นค้อ มีถิ่นกำเนิดที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พืชสกุลค้อ มีประมาณ 28 ชนิด กระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อนของทวีปเอเชีย แอฟริกา และออสเตรเลีย ในประเทศไทยมีรายงานการสำรวจพบ 3 ชนิด กระจายอยู่ทุกภาค ซึ่งต้นค้อชอบขึ้นในบริเวณที่มีความชุ่มชื้นที่ระดับความสูง 600 - 1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ในส่วนของประเทศไทยจะพบค้อได้ในป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ซึ่งส่วนมากเป็นป่าต้นน้ำ และมักพบในป่าสวนเมี่ยง ในอดีตจะพบมากที่ภาคเหนือ ถือได้ว่าเป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุการเจริญเติบโตยาวนาน โดยส่วนใหญ่ลักษณะของต้นค้อที่ใช้ประโยชน์ได้จะมีอายุ 10 ปีขึ้นไป




2 ความคิดเห็น: