วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

สร้อยสยามพรรณไม้หนึ่งเดียวในโลก


สร้อยสยาม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bauhinia siamensis K. Larsen & S.S. Larsen ชื่อวงศ์ LEGUMINOSEA-CAESALPINIOIDEAE ลำต้น เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง พาดพันตามเรือนยอดของต้นไม้อื่นไปได้ไกล โดยชอบเลื้อยออกหาแสง ลำต้นเหนียว แบน เถาบิดเป็นเกลียว กิ่งก้านเมื่ออ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง เมื่อแก่เกลี้ยง ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ (Alternate) รูปไข่เกือบกลม ปลายใบเว้าเป็นสองแฉก ปลายแฉกกลม โคนใบตัดหรือเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ ใบอ่อนจะมีแถบสีขาวเทาตรงกลางใบ ตั้งแต่โคนใบ จนถึง   ปลายใบ เมื่อแก่จะเป็นสีเขียวทั้งใบ แผ่นใบหนา ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบกระจะ (raceme) ห้อยลง ยาว 6-84 เซนติเมตร มีใบประดับสีแดง รูปหอก ในหนึ่งช่อดอกมีดอกย่อย 2-40 ดอก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ แยกเป็นกลีบบน 2 กลีบ กลีบล่าง 3 กลีบ มีขนสีน้ำตาลแดงกลีบดอก 5 กลีบ สีชมพูหรือชมพูแกมแดง รูปไข่กลับหรือรูปรี ปลายกลีบมนกลม โคนกลีบสอบเรียว มีเกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์ 3 อัน ก้านชูอับเรณูยาว 15-18 มิลลิเมตร อับเรณูรูปไข่แกมรูป   ขอบขนาน กว้าง 1-2 มิลลิเมตร ยาว 5-6 มิลลิเมตร ผล เป็นฝักแบน รูปขอบขนาน แห้งแล้วแตก กว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 13-22 เซนติเมตร   เมล็ด แบน รูปไข่ เมื่อแก่มีสีน้ำตาลเข้ม


                                                        






ที่มา: ภาพจากสวนพฤกษศาสตร์บ้านร่มเกล้า พิษณุโลก ในพระราชดำริ
















 







3 ความคิดเห็น: